วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บีบี BlackBerry Torch 9800

  • ระบบสัญญาณ Dual Mode (WCDMA/GSM)
    - WCDMA/HSDPA Quad Band (800/850/1900/2100 MHz)
    - GSM Quad Band (850/900/1800/1900 MHz)

  • ขนาด 111x62x14.6 มิลลิเมตร

  • น้ำหนัก 161.1 กรัม

  • ชนิดจอแสดงผลแบบ TFT LCD Touchscreen ความละเอียด 480x360 Pixels (HVGA+ : กว้าง 3.2 นิ้ว)
    - ระบบ Proximity Sensor สำหรับการปิดหน้าจอแบบอัตโนมัติขณะสนทนา เพื่อประหยัดพลังงาน
    - ฟังก์ชัน Ambient Light Sensor สำหรับตรวจวัดระดับความสว่างของสภาพแวดล้อม เพื่อปรับความสว่างของหน้าจอและแผงปุ่มกดให้เหมาะสม

  • ชนิดแบตเตอรี่ Li-Ion 1300 mAh

  • ระยะเวลารอรับสายสูงสุด ประมาณ 432 ชั่วโมง (GSM) หรือ 336 ชั่วโมง (WCDMA)

  • ระยะเวลาสนทนาสูงสุด ประมาณ 5.5-6 ชั่วโมง

  • ระยะเวลาการฟังเพลงต่อเนื่องสูงสุด ประมาณ 30 ชั่วโมง

  • ระยะเวลาการเปิดดูวิดีโอต่อเนื่องสูงสุด ประมาณ 6 ชั่วโมง

  • ประมวลผลการทำงานด้วย Processor ความเร็วในการประมวลผล 624 MHz

  • ขับเคลื่อนการทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ BlackBerry OS เวอร์ชัน 6.0

  • หน่วยความจำภายในขนาด 4 GB

  • หน่วยความจำ Flash ROM ขนาด 512 MB

  • หน่วยความจำ SDRAM ขนาด 512 MB

  • รองรับการ์ดหน่วยความจำเสริมภายนอกแบบ microSD Card (TransFlash) ได้สูงสุดขนาด 32 GB
    - แถมฟรี microSD Card ขนาด 4 GB มาพร้อมชุดขายมาตรฐาน

  • หน่วยความจำสมุดโทรศัพท์ (ไม่จำกัดจำนวน)

  • บันทึกข้อมูลการโทร (โทรออก, รับสาย, ไม่รับสาย)

  • ปุ่มควบคุมการทำงานแบบ Optical Trackpad

  • ดีไซน์การใช้งานเครื่องแบบฝาสไลด์ (Slide-Up Phone)

  • Slide Keyboard แบบ Full QWERTY ในตัว (Slide-Out QWERTY Keyboard)

  • ไฟ LED แสดงสถานะการทำงานที่ด้านหน้าของตัวเครื่อง
  • วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

    ประวัติส่วนตัว

    ชื่อ  นาย อัศไนย  แพหิรัญ  อายุ18ปี

    เกิด  วัน 7  มกราคม  พ.ศ.  2535

    ที่อยุ่ 26 หมู่1  ต. คลองสอง  อ.คลองหลวง 
    จ.ปทุมธานี 12120

    คติประจำใจ  ถ้าไม่ลำบากมาก่อนก็จะไม่มีวันประสบณ์ความสำเร็จ

    สีที่ชอบ  สีฟ้า   สีเขียว

    อาหารที่ชอบ  อาหารสุขภาพ

    วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

    ไม้ที่ใช้ทำเรือ

    ไม้ที่ใช้ทำเรือมีทั้งไม้สัก ไม้ตะเคียน ไม้เคี่ยมหรือไม้ประดู่ซึ่งมีคุณภาพดีเหมาะในการต่อและขุดทำเป็นเรือ ไม้ตะเคียนจัดเป็นไม้ที่นิยมนำมาทำเป็นเรือ มีทั้งตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนหนู ตะเคียนหยก ตะเคียนไพร ฯลฯ เพราะเป็นไม้เนื้อแข็งลอยน้ำได้ดี ไม่ผุง่ายแม้จะแช่อยู่ในน้ำนานๆ เรือที่นิยมทำจากไม้ชนิดนี้ได้แก่ เรือมาด เรือหมู เรือสำเภา เรือสำเภาและเรือยาวที่ใช้ในการแข่งขัน
    สำหรับไม้สักนั้นนิยมใช้ทำเรือสำบั้น สำเภา เรือชะล่า เรือกระแชง เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง ไม่หดแตกง่าย ส่วนไม้ประดู่มีเนื้อเหนียวเป็นพิเศษนิยมใช้ทำเรือกระแชง เรือเมล์ เรือแท็กซี่ ส่วนไม้เคี่ยมมีคุณสมบัติคล้ายไม้สักแต่เนื้อไม้แข็งกว่า มีความยืดหยุ่นและน้ำหนักมากกว่าซึ่งหายากและมีถิ่นกำเนินทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป

    ประเภทของเรือไทย

    ประเภทของเรือไทย
    • แบ่งตามฐานะ คือเรือหลวงกับเรือราษฏร
    เรือหลวง คือเรือที่ราษฎรไม่มีสิทธิ์นำมาใช้ ถือเป็นของสูง เช่น เรือพระราชพิธีในกระบวนพยุหยาตราชลมารค เรือพระที่นั่งกิ่ง เรือพระที่นั่งศรี เป็นต้น ส่วนเรือราษฎรได้แก่เรือทั่วๆ ไปที่ใช้ตามแม่น้ำลำคลอง
    ซึ่งยังอาจแบ่งออกเป็น 2 พวก คือเรือแม่น้ำพวกหนึ่ง เรือทะเลพวกหนึ่ง เรือแม่น้ำคือเรือที่ใช้ไปมาในแม่น้ำลำคลอง เป็นเรือขุดหรือเรือต่อ ได้แก่ เรือมาด เรือหมู เรือพายม้า เรือม่วง เรือสำปั้น เรืออีแปะ เรืออีโปง เรือบด เรือป๊าบ เรือชะล่า เรือเข็ม เรือสำปันนี เรือเป็ด เรือผีหลอก เรือเอี้ยมจุ๊น เรือข้างกระดาน เรือกระแชง เรือยาว เรือมังกุ เป็นต้น ส่วนเรือทะเลคือเรือที่ใช้ไปมาในทะเลและเลียบชายฝั่ง เป็นชนิดเรือต่อ ได้แก่ เรือฉลอม เรือฉลอมท้ายญวน เรือเป็ดทะเล เรือกุแหละ หรือเรือกุไหล่ เรือโล้ เรือสำเภา เรือปู เป็นต้น
    • แบ่งโดยกำลังที่ใช้แล่น เช่น เรือพาย เรือกรรเชียง เรือแจว เรือโล้ เรือถ่อ เรือใบ

    วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

    ยุทโธปกรณ์ประจำการ



    ยุทโธปกรณ์ประจำการ

    กองเรือยุทธการ

    เรือรบขนาดใหญ่ที่ประจำการในกองทัพเรือไทยจะต่อจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหราชอาณาจักร อิตาลี สิงคโปร์ สเปน หรือ เยอรมนี ในขณะที่เรือรบซึ่งมีขนาดเล็กหรือเป็นเรือที่ไม่ใช่เรือรบหลัก ส่วนใหญ่จะต่อจากอู่ภายในประเทศทั้งอู่ของเอกชนและอู่ของกรมอู่ทหารเรือเอง เช่น เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ เรือตรวจการณ์ปืน เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง เรือยกพลขึ้นบก เรือระบายพล เรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิด เรือน้ำมัน เรือน้ำ เรือลากจูง เรือสำรวจ เป็นต้น
    ดูรายละเอียดที่เรือรบในประจำการของกองทัพเรือไทย

    เรือไทย

    หน้าที่ ภารกิจ และบทบาท

    หน้าที่ ภารกิจ และบทบาท
              กองทัพเรือมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพเรือ การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพเรือตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 ตลอดจนหน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล
    จากหน้าที่ดังกล่าวทำให้กองทัพเรือมีภารกิจ คือ
    1.           การปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
    2.           การรักษาสิทธิและอธิปไตยของชาติทางทะเล
    3.           การคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
    4.           การดำรงการคมนาคมทางทะเลให้ได้อย่างต่อเนื่อง
    5.           การช่วยเหลือและสนับสนุนการป้องกันอธิปไตยทางบก
    6.           การสนับสนุนการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
    7.           การสนับสนุนการพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชน
    บทบาทของกองทัพเรือในปัจจุบัน คือ
    1.           การปฏิบัติการทางทหาร (Military Role) คือ การปฏิบัติการทางเรือเพื่อการป้องกันประเทศในรูปแบบต่างๆ ตามสถานการณ์ที่กระทบต่ออำนาจอธิปไตยและเอกราชของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องใช้กำลังทางเรือที่เข้มแข็ง ปฏิบัติการด้วยความเฉียบพลัน รุนแรง และเด็ดขาด
    2.           การรักษากฎหมายและช่วยเหลือ (Constabulary Role) คือ การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การรักษากฎหมายตามที่รัฐบาลมอบอำนาจ ให้ทหารเรือเป็นเจ้าหน้าที่รวม 28 ฉบับ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือประชาชนและการพัฒนาประเทศ
    3.           การสนับสนุนกิจการระหว่างประเทศ (Diplomatic Role) คือ การสนับสนุนการดำเนินนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐบาล และใช้หรือแสดงกำลังเพื่อสนับสนุนการเจรจาต่อรอง เมื่อมีการขัดกันในผลประโยชน์ของชาติหรือเหตุการณ์วิกฤติที่กระทบต่อผลประโยชน์ของชาติโดยตรง




    กองทัพเรือไทย

    กองทัพเรือไทย
    กองทัพเรือไทย หรือ ราชนาวี (คำย่อ : ทร. ชื่อภาษาอังกฤษ : Royal Thai Navy คำย่อภาษาอังกฤษ : RTN) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศไทย กองทัพเรือเป็น 1 ใน 3 เหล่าทัพของกองทัพไทย และมีจำนวนกำลังพลเป็นอันดับสองรองจากกองทัพบก กองทัพเรือปฏิบัติการด้วยเรือรบกว่า 340 ลำ อากาศยานกว่า 90 เครื่อง และกำลังรบทางบกอีก 2 กองพล นับเป็นกองทัพเรือที่มีความสำคัญในลำดับต้นๆ ของภูมิภาคเอเชีย กองทัพเรือมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการกองทัพไทย ที่มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหม
    กองทัพเรือมีพื้นที่ปฏิบัติการหลักทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตามแนวเขตแดนระหว่างประเทศในทะเลความยาวกว่า 1,680 ไมล์ และตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า 1,500 ไมล์ หน่วยต่างๆ ในสังกัดกองทัพเรือมีลักษณะการจัดโครงสร้างหน่วยที่คล้ายกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามาก โดยเฉพาะในหน่วยกำลังรบ คือ กองเรือยุทธการ กองการบินทหารเรือ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
    กองทัพเรือมีพื้นที่ปฏิบัติการหลักทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตามแนวเขตแดนระหว่างประเทศในทะเลความยาวกว่า 1,680 ไมล์ และตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า 1,500 ไมล์ หน่วยต่างๆ ในสังกัดกองทัพเรือมีลักษณะการจัดโครงสร้างหน่วยที่คล้ายกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามาก โดยเฉพาะในหน่วยกำลังรบ คือ กองเรือยุทธการ กองการบินทหารเรือ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
    กองทัพเรือไทย หรือ ราชนาวี (คำย่อ : ทร. ชื่อภาษาอังกฤษ : Royal Thai Navy คำย่อภาษาอังกฤษ : RTN) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศไทย กองทัพเรือเป็น 1 ใน 3 เหล่าทัพของกองทัพไทย และมีจำนวนกำลังพลเป็นอันดับสองรองจากกองทัพบก กองทัพเรือปฏิบัติการด้วยเรือรบกว่า 340 ลำ อากาศยานกว่า 90 เครื่อง และกำลังรบทางบกอีก 2 กองพล นับเป็นกองทัพเรือที่มีความสำคัญในลำดับต้นๆ ของภูมิภาคเอเชีย กองทัพเรือมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการกองทัพไทย ที่มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหม

    ภาพการแข่งขัน

    ประเพณีและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับเรือ

    ประเพณีและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับเรือ
    ปัจจุบันแม้เรือจะลดความสำคัญ แต่ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับเรือยังคงมีให้เห็น อาทิ การเล่นเพลงเรือ กฐินทางน้ำ ประเพณีชักพระภาคใต้ ประเพณีตักบาตรร้อยพระ จ.ปทุมธานี ประเพณีแข่งเรือ ประเพณีเกี่ยวกับการทอดผ้าป่าทางเรือ มีทั้งของหลวงและของราษฎร แตกต่างกันตรงขนาดและเครื่องไทยทาน และอีกหลากหลายประเพณีตามท้องถิ่น
    ความเชื่อเกี่ยวกับเรือ เช่น ห้ามเหยียบหัวเรือเพราะแม่ย่านางเรือประทับตรงนั้น เป็นกุศโลบายที่ต้องการให้ใช้เรืออย่างระมัดระวัง ถนอมเพราะเรือมีราคาแพง ห้ามพายเรือยังไม่แก้โซ่ จะทำให้เรือล่ม ทั้งนี้เพราะหากกระชากเรือจากโซ่แทนการแก้ออกดีๆ จะทำให้เรือชำรุดเกิดอุบัติเหตุได้ ห้ามเหยียบเรือสองแคม ความหมายตรงๆ โดยไม่เล่นสำนวนคือการเหยียบเรือ 2 แคม จะทำให้เรือล่มหรือพลิกคว่ำเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ เป็น


    จุดประสงค์การแข่งขันเรือยาว

    • ฉลองเทศการออกพรรษาของชาว ไทยพุทธเพราะจะจัดขึ้นหลังจากออกพรรษาแล้ว
    • เป็นการสร้างความสามัคคี ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน
    • ในอดีตนั้นจะใช้เรือยาวในการแห่กฐินหรือผ้าป่าไปวัด และเพื่อความสนุกสนานและความเพลิดเพลิน จึงได้จัดแข่งขันเรือยาวขึ้นด้วย
    • เป็นโอกาสดีของหนุ่มสาว ต่างหมู่บ้านที่จะได้รู้จักพบปะสังสรรค์กัน

    วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

    การแข่งเรือ

    การแข่งเรือ

    ประเพณีแข่งเรือ
    • การแข่งเรือเป็นประเพณีหน้าน้ำของคนไทย เป็นการละเล่นในยามน้ำหลากที่สืบทอดมาแต่โบราณ และมักมีการแข่งเรือควบคู่ไปกับการทำบุญ ปิดทอง ไหว้พระและงานกฐิน ช่วยสร้างบรรยากาศให้งานบุญครึกครื้นขึ้น
    • ประเพณีแข่งเรือ เป็นการละเล่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยในชนบทถิ่นที่อยู่อาศัยใกล้น้ำ ในช่วงเดือนสิบเอ็ดและเดือนสิบสอง ชาวบ้านเว้นว่างจากการทำไร่ทำนา เป็นโอกาสที่หนุ่มสาวได้พบปะเกี้ยวพาราสีกัน ได้เห็นฝีไม้ลายมือของชายอกสามศอก ได้เห็นความสามัคคีพร้อมเพรียงของเหล่าหนุ่มฝีพาย การแข่งเรือมักมีการเล่นเพลงเรือ เพลงปรบไก่ เพลงครึ่งท่อน และสักวาโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาวหลังการแข่งเรือ เป็นกรใช้ฝีปากไหวพริบและความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน โต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน ได้แสดงความสามารถทั้งหญิงและชาย ผู้ดูมีทั้งอยู่บนตลิ่ง และที่พายเรือกันไปเป็นหมู่ ต่างสนุกสนานกันทั่วหน้า
    • เรือแข่งที่แถบชาวบ้านลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาใช้แข่ง เรียกเรือยาว ซึ่งทำจากท่อนซุงทั้งต้น การต่อเรือยาวต้องใช้ความรู้ ความชำนาญมาก จึงจะได้เรือที่สวยและแล่นได้เร็วเวลาพาย
    • ปัจจุบันประเพณีการแข่งเรือยังมีเหลืออยู่บ้างไม่มากเหมือนสมัยก่อน เพราะวิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่เราไม่ค่อยจะได้ยินเสียงเพลงเห่เรือของฝีพายและของชาวบ้าน กลับได้ยินเพลงลูกทุ่งแทน เพราะขาดผู้รู้คุณค่าและความสนใจที่จะรักษาไว้ จึงไม่ได้สนับสนุนผู้มีความรู้ความสามารถในการเห่เรือ ให้สืบทอดประเพณีนี้ต่อมา เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานราชการ และเอกชนบางแห่ง เล็งเห็นคุณค่าของประเพณีแข่งเรือ จึงได้จัดให้มีการแข่งเรือขึ้นในหลายๆท้องถิ่นที่อยู่ริมน้ำ ซึ่งประสบผลสำเร็จ ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติมากมาย

    สิ่งที่คุณค้นหาคือตัวผม

    สวัสดีทุกท่านนะครับ


    ก้าวแรกในการดำเนิดชีวิต

    ****----**----****
    **-------*-------**
    *------------------*
    **---------------**
    ***------------***
    ****----------****
    ******----*******